บี−ควิก พูดคุยแบ่งปันสาระเรื่องรถ-เรื่อง เบรก #1

สาระเรื่องรถ - ระบบเบรก

ระบบเบรก ดูแลอย่างไร ให้ปลอดภัยทุกเส้นทาง

ระบบเบรก เป็นส่วนสำคัญในการชะลอและหยุดรถ ระบบเบรกที่ดีย่อมส่งผลต่อการขับขี่ที่มั่นใจ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายถึงชีวิต สำคัญขนาดนี้ มาดูกันว่า ต้องดูแลระบบเบรกอย่างไรบ้าง

ระบบเบรค ถนอมอย่างไรให้ปลอดภัย ใช้ได้นาน

วิธีง่ายๆในการถนอมระบบเบรก ให้ผู้ใช้รถยนต์สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย และมีอายุการใช้งานนานเท่าที่ควรจะเป็น1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกเป็นประจำ ควรเปลี่ยนอย่างน้อยทุกๆ 1 ปี หรือ 25,000 กิโลเมตร2. หมั่นทำความสะอาดระบบเบรก ไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรก จานเบรก และส่วนต่างๆ ในระบบเบรก3. เปลี่ยนผ้าเบรก เมื่อพบว่าผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มม.4. หมั่นตรวจเช็กจานเบรกอยู่เสมอ หากพบรอยต่างๆ บนจานเบรก ควรเจียรจานเบรกใหม่หรือ หากพบว่าจานเบรกบิดเบี้ยว ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่เปลี่ยนอุปกรณ์เบรกคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของรถและตัวคุณที่ บี-ควิก ทุกสาขาทั่วประเทศ สอบถามโทร. 1153

ระบบเบรกและผ้าเบรกมีกี่ประเภท ประเภทไหนมีดีอย่างไร

ระบบเบรกในรถยนต์ สามารถแบ่งได้เป็น2ประเภท1. ดรัมเบรกประกอบด้วยตัวดรัมเป็นโลหะวงกลมติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรกที่ประกอบด้วยผ้าเบรก กลไกปรับแต่งเบรก สปริงดึงกลับ ลูกสูบน้ำมันเบรก โดยสายน้ำมันเบรกจะเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบในการดันผ้าเบรกให้ไปเสียดทางกับดรัมเพื่อให้เกิดความฝืด เพื่อชะลอความเร็วรถ ส่วนใหญ่ใช้ในรถบรรทุก รวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะใช้เฉพาะล้อหลังจุดเด่น คือ หยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกยึดติดกับดุมล้อ เหมาะกับรถยนต์ที่บรรทุกน้ำหนักมากจุดด้อย คือ ผ้าดรัมเบรกถ่ายเทความร้อนและระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าชุดดิสก์เบรก2. ดิสก์เบรกประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ คาลิปเปอร์หรือก้ามปูเบรก ผ้าเบรก ลูกปั๊มน้ำมันเบรก ระบบจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรก เพื่อให้เกิดความฝืด ทำให้รถหยุด รถบางรุ่นใช้ดิสเบรกทั้ง 4 ล้อ รถยนต์บางรุ่นใช้เพียง 2 ล้อหน้าจุดเด่น คือ สามารถถ่ายเทความร้อนและไล่น้ำออกจากระบบเบรก ได้ดีกว่าดรัมเบรก ทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย ตอบสนองทันที มีความแม่นยำในการเบรกสูงจุดด้อย คือ ราคาสูงกว่าดรัมเบรก พละกำลังในการเบรกน้อยกว่าแบบดรัมเบรก และผ้าเบรกหมดเร็วกว่า

น้ำมันเบรกสำคัญอย่างไรและควรเปลี่ยนเมื่อไหร่

น้ำมันเบรกมีหน้าที่ในการเป็นตัวกลางส่งแรงดันจากแม่ปั๊มเบรกตัวบนไปยังคาลิปเปอร์เบรกสำหรับดิสก์เบรก หรือ ไปยังลูกสูบเบรกสำหรับดรัมเบรกควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุก 1 ปี หรือทุกๆ 40,000 กิโลเมตร เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก ออกจากระบบและยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งส่งผลให้ลูกยางเบรกรั่วได้ง่ายคุณสมบัติของ “น้ำมันเบรก” ที่ดีเป็นอย่างไร1. เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรก สู่ ระบบเบรกได้ดี2. มีความหนืดที่เหมาะสม ทุกช่วงอุณหภูมิ ทั้งร้อน-เย็น3. ไม่เป็นอันตรายต่อลูกยาง และชิ้นส่วนที่เป็นโลหะในระบบเบรก4. เป็นสารหล่อลื่นที่ดี เพื่อป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน ภายในระบบเบรก5. มีจุดเดือดสูงและระเหยได้ยากปัจจัยที่ทำให้ “น้ำมันเบรก” เสื่อมสภาพความร้อนเป็นผลมาจากการเบรกกะทันหัน หรือเบรกบ่อยๆภายใต้ความเร็วสูง จะส่งผลให้ “น้ำมันเบรก” ซึมซับความร้อนเอาไว้ หากระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทัน น้ำมันเบรกก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรกส่งผลให้เกิดอาการเบรกหาย-เบรกลึก-เบรกไม่อยู่ หรือที่เรียกว่า “เบรกแตก” ดังนั้น จุดเดือดของ “น้ำมันเบรก” จึงมีความสำคัญมาก ต่อประสิทธิภาพระบบเบรกความชื้นเมื่อความชื้นเข้ามาปะปนอยู่ในน้ำมันเบรกส่งผลให้มีจุดเดือดต่ำลงและประเทศไทยจัดเป็นเขตที่มีความชื้นสูง จึงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ตามระยะเวลาทุก 1 ปีเพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิม ที่เกิดจากความชื้นสะสมในกระบอกสูบเบรกซึ่งเป็นต้นตอทำให้ลูกยางเบรกเป็นรอยและรั่วในที่สุด​

ทำไมต้องเจียรจานเบรก

การเบรก ชะลอ หรือหยุดรถ เกิดขึ้นได้จากการเสียดทานของผ้าเบรกและจานเบรก เมื่อผ่านการใช้งานมาได้สักระยะหนึ่ง ผิวหน้าสัมผัสของจานเบรกอาจเกิดความเสียหาย เป็นร่องหรือสึก จะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับการใช้งานการเจียรจานเบรกคือ การปรับสภาพผิวหน้าของจานเบรก ให้ร่องขรุขระเรียบ หรือหายไป โดยใช้ใบมีดของเครื่องเจียรปาดที่ผิวหน้าของจานเบรกเพื่อให้มีค่าแรงเสียดทานระหว่างจานเบรกและผ้าเบรกเพิ่มขึ้น ลดเสียงดัง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบเบรกทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากพบว่าจานเบรกเป็นสนิม ก็สามารถแก้ไขโดยการเจียรจานเบรกได้ แต่หากเป็นสนิมมากๆ ก็ควรเปลี่ยนจานแทนวิธีการเจียรจานเบรกมี 2 ประเภท1.เจียรจานแบบประชิดล้อหรือ เจียรแบบไม่ต้องถอดจานเบรก เป็นการเจียรจานโดยนำเครื่องเจียร เข้ามาวางประชิดจานเบรก โดยไม่ต้องถอดจานเบรก จึงสะดวก รวดเร็ว สามารถปรับสมดุลของจานเบรกได้ที่ตัวรถเลย 2. เจียรจานแบบแท่นหรือ เจียรแบบถอดจานออกมาเจียรที่แท่นเจียร มีขั้นตอนและใช้เวลามากกว่าการเจียรแบบประชิดล้อ เพราะถอดจานออกมาเจียรที่เครื่อง​เจียรจานแบบแท่น แต่สามารถปรับมุม องศา ของใบมีดเจียรได้มากกว่าการเจียรแบบประชิด

5 อาการเบรกอันตรายขณะขับขี่ ที่ไม่ควรมองข้าม

เบรกนับว่าเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ สำหรับรถของคุณ เพราะหากเบรกใช้งานไม่ได้แล้วก็คงจะเป็นอันตรายต่อรถและตัวคุณอย่างมากซึ่งการดูแลระบบเบรกนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ต้องหมั่นคอยสังเกตความผิดปกติและควรตรวจเช็กให้พร้อมใช้งานตลอด เพราะการใช้งานเบรกนั้นถ้าหากผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้1.รถยนต์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะเบรกหากพบว่ารถยนต์กำลังเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะแตะเบรก อาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของระบบ ช่วงล่างกระเด็นเลอะจานเบรก จนทำให้ผิวจานเบรกลื่นมันและความฝืดลดลง หรือเกิดจากการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรก2.เบรกแล้วพวงมาลัยสั่นหากขับรถที่ความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป แล้วแตะเบรก และพบว่าพวงมาลัยสั่น เป็นไปได้ว่าจานเบรกอาจจะคดที่ข้างใดก็ข้างหนึ่ง ควรเจียนจานเบรกโดยอาการควรจะหายไปหลังเจียร แต่ถ้ายังเบรกแล้วสั่นอยู่ อาจจะต้องเช็กช่วงล่างด้านหน้าและระบบเบรกทั้งระบบ3.เบรกตื้ออาการเบรกตื้อ คือ เวลาเหยียบเบรกแล้วเบรกไม่ค่อยอยู่ เกิดอาการเบรกแข็ง ต้องออกแรงเหยียบมากๆ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หม้อลมเบรก รั่วซึม4.เบรกจมอาการเบรกจม คือ เบรกแล้วแป้นเบรกจมยวบลงไป แต่เมื่อเหยียบเบรกแล้วแป้นจมลงไปมากกว่าปกติ และต้องเหยียบเบรกซ้ำๆจึงจะชะลอหรือหยุดรถได้ เกิดจากการสึกหรอของลูกยางแม่ปั๊มเบรกตัวบนทำให้การอัดแรงดันน้ำมันเบรกลดลงจนต้องย้ำเบรก หากเกิดอาการดังกล่าวควรนำรถยนต์ไปเช็กระบบเบรกอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเกิดอาการเบรกแตกอาจเกิดขึ้นตามมาได้5.เบรกแตกอาการเบรกแตก คือ เมื่อเหยียบแป้นเบรกแล้วเบรกไม่อยู่ ไม่สามารถชะลอความเร็วด้วยการเบรกได้ หรือเบรกไม่ตอบสนอง ต้นตอของปัญหาเบรกแตกนั้นเกิดได้ในหลายกรณี ทั้งแม่ปั๊มเบรกตัวบนชำรุด น้ำมันเบรกรั่วออกจากระบบจนหมด หรือชิ้นส่วนระบบเบรกหลวม

career
Copyright 2019 All right reserved B-Quik.com
เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)